วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550

sequence กับการแปรอักษร I I I

จากที่ได้เสนอมานำมาทดลองสร้างงานภาพเคลื่อนไหว 2 มิติเป็นงานสเก็ต การแปรอักษรอยู่บนสแตรน ภาพแรกเห็นเด็กหนึ่งคนนั่งจัดสมุดสีอยู่ พอกล้องซูมออกก็เห็นเด็กจำนวนหนึ่งนั่งจับเพลทที่เรียงสมุดสีเสร็จแล้ว จากนั้นไม่นานเด็กๆก็หมุนเพลทอีกด้านแต่ก็ดูไม่ออกว่าคืออะไร ต้องซูมออกมาอีกเลยเห็นเป็นจุดสีเหมือนจะเป็นรูปแต่ยังไม่ชัด เลยซูมออกมาเรื่อยๆจนเริ่มเห็นเป็นภาพมากขึ้นจากหนึ่งสแตรนมารวมกับสองสแตรนออกมาจนเห็นครบสามสแตรนภาพที่เห็นก็ชัดเจนด้วยระยะห่างและการบอกเล่าของภาพที่ค่อยๆเป็นไป




















อันนี้เป็นการปลูกต้นไม้จากต้นเล็กๆหนึ่งต้นเป็นสอง สาม สี่ ตั้งแต่ต้นอ่อน ค่อยๆโตขึ้นแตกกิ่งใบ ออกดอกออกผล เป็นต้นไม้ใหญ่ เมื่ออยู่ไกลออกมาเราก็จะเห็นต้นไม้ใหญ่เหล่านั้นเล็กมากจนเห็นแค่สีเขียวๆ พอเราเห็นภาพจากดาวเทียมเราก็เห็นพื้นดินทั้งหมดเป็นสีเขียวกับพื้นน้ำสีฟ้า




















ทั้งสองอันเป็น seq ที่เกิดหรือเริ่มจากสิ่งเล็กๆจนมันมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นจนกลายเป็น seq ที่ใหญ่ติดตามต่อในข้อความหน้านะครับ

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550

sequence กับการแปรอักษร I I

ต่อจากบทความที่ผ่านมาที่ได้เอาเรื่องแปรอักษรมา เริ่มจากการคิดงานใน seq การขึ้นอาคารเรียนแล้วผมก็พยายามนึกว่าจะมีอะไรไมที่เราเห็นตอนจบแล้วรู้เรื่องโดยไม่ต้องรับรู้ว่าที่ผ่านมามันเป็นไง เหมือน seq ของการขึ้นลิฟแล้วก็มีเรื่องแปรอักษรเข้ามาในหัว ก็ไม่รู้ว่าจะใช้ได้ไมก็เลยลองหาข้อมูลก่อน เลยลองเปรียบเทียบระหว่างเรื่องเดิม คือเรื่องย่อ กับเรื่องใหม่ คือเรื่องตอนแปรอักษรเสร็จ เพราะ seq ทั้งสองเป็นการเห็นตอนจบหรือรับรู้จากการสรุป ถ้างงต้องกลับไปอ่านบทความที่ผ่านๆมา

seq อาจไม่สำคัญระหว่างทางก็ได้ ถ้าเราเห็นตอนจบแล้วเข้าใจได้เลย แสดงว่าเรารับรู้ได้แต่ไม่อาจเข้าใจและเข้าถึง

เห็นภาพตอนแปรเสร็จ
- ไม่ได้รับบรรยากาศในการแปรอักษร
- ไม่ได้รู้ที่มาที่ไปของภาพที่ออกมาว่าก่อนหน้านี้เป็นไง
- ขาดจินตนาการในการชม
- หมดเสน่ห์ของการแปรอักษร
*ถ้าเราเห็นภาพตอนจบแล้วเราไม่ได้รับรู้ถึงบรรยากาศของการแปรอักษร จะต่างอะไรกับการดูภาพแตกๆ

อ่านเรื่องย่อจบ
- ไม่ได้รับรู้ถึงบรรยากาศของเนื้อเรื่อง
- ไม่มีอารมณ์ร่วมไปกับเรื่อง
- ไม่ได้จินตนาการไปกับเรื่อง
*การอ่านเรื่องย่อทำให้เราเข้าใจเรื่องแต่ไม่ได้รับรู้ถึงอารมณ์หรือบรรยากาศที่เรื่องนั้นจะพาเราไป

แกนของการแปรอักษรจุดเล็กๆรวมตัวเป็นภาพใหญ่

ลักษณะเด่นของการแบบอักษรต้องคอยรอดูว่าภาพต่อไปจะเป็นภาพอะไร ความต่อเนื่องของการแปร และระยะห่างจากคนที่แปรกับคนที่ดูต้องมีความห่างพอสมควร ถึงจะเห็นภาพนั้นได้อย่างชัดเจน

sequence กับการแปรอักษร I

จากที่ได้ข้อมูลเลยลองหาแกนของ sequence กับการแปรอักษร เพราะทุกอย่างในโลกนี้มี sequence ทุกคนรู้
ผมนำโค้ด 1:16 มาวิเคราะห์ เพราะมีความน่าสนใจและซับซ้อนที่สุดในโค้ดต่างๆ
เริ่มแรกจากเล็กไปหาใหญ่ คือ สมุดสี ในหนึ่งเล่มมี 30 สี และในหนึ่งเพลทมี 2 หน้า หน้าละ 16 เล่ม ดูลักษณะเพลทได้จากบทความที่ผ่านมา และในหนึ่งสแตนจะมีหลายเพลทเพื่อให้ภาพที่แปรมีความละเอียด เหมือนการรวมจุดสีถ้าดูใกล้ๆจะดูไม่รู้เรื่อง ต้องดูไกล


โครงสร้าง sequence ของการแปรอักษร


















สรุป
- ในหนึ่งเพลทจะมีสมุดสีหลายเล่ม เมื่อมารวมกันเป็น seq ใหม่
- ในหนึ่งภาพ บนสแตนจะมีหลายเพลทจึงทำให้เกิดรูปได้เป็นการไล่โทนสี ทำให้ seq นั้นชัดเจนขึ้น
- เป็น seq ที่เหมือนการบวกเลข จากจุดเล็กๆให้เป็นภาพใหญ่ คล้ายต้องเดินจาก 1 2 3 4 ไปให้จบก่อนแล้วต้องดูเฉลยที่ตอนจบถึงจะรู้เรื่องว่าเป็นอะไร งง ปะครับ
- งั้น seq นี้ในความคิดผมนะ ระหว่างทางอาจไม่สำคัญแต่ต้องมีเพราะเราก็จะเข้าใจรูปตอนจบได้ แต่จะไม่รู้ว่ามาไง เหมือนสามารถรับรู้ได้แต่จะไม่เข้าใจและเข้าถึง

คิดไปคิดมามันก็พอจะใกล้ๆหรือมีประโยชน์บางกับประเด็นการขึ้นอาคารเรียน ถึงแม้ที่คิดมามันอาจจะไม่ใช่แกนเดียวกันก็ตาม ติดตามต่อบทความหน้าครับ

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550

sequence กับการแปรอักษร

หลังนั่งคิดๆไปเรื่อยๆ ว่าอะไรที่เราสามารถทำข้ามๆได้โดยไม่มีผลอะไร อย่างเราทำอยู่ที่ 1 แล้วทำ 4 ต่อเลยโดยไม่มีผล อยู่ๆก็มีเรื่องแปรอักษรเข้ามาในหัวเฉยเลยก็เลยลองหาข้อมูลดู เพื่อจะมีอะไรที่ใช้ประโยชน์ได้บ้าง

แปรอักษร

การแปรอักษร ต้องใช้คนทั้งหมด 2,300 คน
แสตนด์มีแถวตอนทั้งหมด 100 แถว ก็แบ่งเป็น แถวแนวนอน a b c d ไปอีก 23 แถวล่ะมัง
อืม (นับๆ) ถ้างั้นก็จะมีแถว a-w ^^

เราอยู่แถว E 12

แต่ก่อนตอนเด็กๆ ดูงานบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ทางทีวีแล้ว ก็นึกว่า ที่เขาแปรอักษรได้เลิศหรูอลังการขนาดนั้น คงจะซ้อมกันเป็นเดือนๆแน่ๆเลย

พอได้มาอยู่บนแสตนด์แล้ว ถึงรู้ว่า XD เปล่าเลย พี่เขาแจกใบโค้ดมาแล้วอธิบายวิธีอ่านโค้ด ให้เข้าใจ จากนั้นก็ ลงมือแปรอักษรกันทันที!! ซ้อมอะไร~ไม่ต้อง~~

สรุปก็คือ พวกเราที่ขึ้นแสตนด์แค่ทำตามที่พี่เขาว่าเท่านั้นเอง ที่ต้องนับถือคือพวกชมรมเชียร์นี่แหล่ะ เก่งจริงๆ >
/me ปรบมือให้

เอาล่ะ มาดูกันดีกว่าว่า โค้ดแปรอักษรที่พี่เขาคิดขึ้นมาเนี่ย มีอะไรบ้าง

โค้ด 1:1
ใช้กระดาษสีแผ่นใหญ่ 1 แผ่นยกขึ้นมา ใช้ทำเป็นคำพูดสั้นๆ
















โค้ดโต้ตอบ
ใช้ร่มสีฟ้า หุบ-กาง
















โค้ดต่อเนื่อง
ก็คล้ายกับโค้ด 1:1 น่ะแหล่ะ แต่ใช้กระดาษสีเดียว โดยพี่เขาจะนับ 1-10 ถ้าใครในช่องเลขไหนมีเขียนไว้ว่าให้ยกก็ยก ใครม่มีก็เอาลง เช่น ช่องที่ 1 เรามี พอพี่นับ 1 เราก็ยก พอพี่นับ 2 แล้ว ช่องที่ 2 เราไม่มี ก็เอาลง จะเปิดเป็นคำชุดอ่านต่อๆกัน อาจเป็นกลอนหรือโคลง
















โค้ด MP
MP ย่อมาจาก Movie Picture ใช้ร่มหุบ-กาง คล้ายๆกับโค้ดต่อเนื่อง เพียงแต่อันนี้พี่นับ 1-100 เลย แล้วตัวอักษรมันจะเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆคล้ายไฟวิ่ง

โค้ด BAKA
ไปอ่านได้ในหัวข้อ BOOM BAKA
XD

โค้ด 1:16
นี่ล่ะ จุดเด่นของแสตนด์เลย
ใช้โครงเหล็กในการเปิด โดยโครงเหล็ก 1 อัน จะประกอบไปด้วยสมุดสี 16 เล่มทั้ง 2 ด้าน และสมุดสีแต่ละเล่มจะมี 30 สี หน้าละสี มีตัวเลขบอกรหัสสีกำกับไว้ ใช้เปิดภาพที่ละเอียด เน้นความสวยงาม




















หน้าตาของเพลท 1:16













อยากบอกว่า พลิคเพลทกันมือเป็นปลาหมึก!!

พอแปรอักษรเป็นรูปๆนึงแล้ว ใช่ว่าเราจะยกมันวางบนตักไว้เฉยๆนะ บอกแล้วใช่มั้ยว่า สมุดสีมี 2 ด้าน...นั่นแหล่ะ ระหว่างยกโชว์ด้านหน้า ด้านหลังก็พลิกค้ดต่อไปอย่างเอาเป็นเอาตาย


ที่มาข้อมูล http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=firodendon&date=27-01-2005&group=1&gblog=6

ทบทวนกับ seq ของการขึ้นตึก

หลังจากไม่มีอะไรดีขึ้นกับการเสนอที่ผ่านๆมา ทำให้ผมต้องกลับไปทบทวนตั้งแต่เริ่มต้นใหม่ seq ของการขึ้นอาคารเรียน

seq แรก





seq ต่อมา





ทั้งสอง seq ความห่างของชั้นเท่ากัน คือ 4 ชั้น แต่การเลือกทางไปจะทำให้เร็วขึ้น
seq แรก เราจะผ่าน 1 2 3 4 เราต้องเริ่มจากแรกและผ่านทุกอย่างใน seq นั้นจนถึงเป้าหมาย
seq สอง เราจะผ่าน 1 และไปถึงเป้าหมายที่จะไปเลย โดยไม่ได้ผ่านระหว่างทางที่จะไป 2 3 ทำให้เราไม่รู้หรือไม่มีประสบการณ์ในชั้นที่ไม่เคยไป

ประเด็น - ความห่างของชั้นที่เท่ากัน
- ระยะทางเป็นแนวตรง และ เฉียง
- เวลาของทางที่เลือกว่าจะไปทางไหนก็จะใช้เวลาไม่เท่ากัน

ตัวอย่าง





























จากที่ได้สังเกตุในตึกเดียวกันทุกอย่างได้ถูกควบคุมโดยปัจจัยเดียวกันคือปริมาณพื้นในตึกที่เท่ากันแต่จะขึ้นอยู่กับการเลือกทางที่จะไปมากกว่า ถ้าทางเดินที่ตรงจากพื้นถึงจุดมุ่งหมาย จะทำให้ลดพื้นที่ได้ทางที่สั้น แต่ถ้าทางที่เลือกมีความเอียงก็จะทำให้ระยะทางเพิ่มขึ้น และอีกอย่างคือระบบกลไกที่เข้ามาช่วยทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้น